บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559
เวลา 08.30 น. - 11.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
วีดีโอ "ไลท์นิ่ง ทอล์ค กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง" ตอน "อ่านแต่เล็ก เด็กฉลาด สมรรถนะดี"
บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
โครงการการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
1.โครงการแม่สอนลูก
- กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
- จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
- ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้
- ใช้รูปแบบการทดองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน
- อาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
- เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก
2.โครงการ แม่สอนลูก
- ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
- ให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน
- ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
- เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน
- แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
- มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก
- เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- ต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี
- ใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
- วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม
- วิธีการบรรยาย
4.โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
- สำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
- เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย
- ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ
- แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
5.โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”
- สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา เสพติด
- ภายใต้คำขวัญ “พลังครอบครัวไทย ชนะภัยยาเสพติด”
- สร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน
- เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด
- โดยมีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ
- ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
- ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
- สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
- กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา เป็นต้น
6.โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
- โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546
- โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
- ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน
- ส่วนภาคเอกชนเริ่มดำเนินโครงการ “รวมพลัง รักการอ่าน” ขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน
- โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ
- สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว
- ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่าน
- ประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ
- ทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ
7.โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
- กรมการพัฒนาชุมชน
- กรมการศึกษานอกโรงเรียน
- กรมอนามัย สำนักงานปรัดกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายหน่วยงาน
- วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่สมาชิกในครอบครัวเยาวชนในท้องถิ่น
- เลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก โดยมีกิจกรรมดังนี้
- การเตรียมชุมชน แก่การให้ความรู้แก่อาสาสมัคร แล้วไปถ่ายทอดให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง
- จัดกลุ่มสนทนาให้แก่เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง สนทนาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การผลิตของเล่นสำหรับเด็ก การเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดี เป็นต้น
- จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีความรู้และทักษะในการเลี้ยงดูเด็กเพื่อเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดีต่อไป
8.โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
- กองสูตินารีเวชกรรม รพ.พระมงกุฎเกล้า
- เปิดบริการให้เตรียมความพร้อมแก่คู่สมรสที่กำลังเตรียมใช้ชีวิตคู่
- ใช้ชื่อสถานบริการนี้ว่า “คลินิกให้คำปรึกษาก่อนสมรส”
- ดำเนินงานโดย พ.อ. นพ.วิวัฒน์ ศุภดิษฐ์
- มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในสังคมไทย
- โดยจะให้การรักษาดูแลสุขภาพร่างกายให้แก่คู่สมรส
- จะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดูและการดูแลทารกด้วยนมแม่
9.โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองดังกล่าวเป็นรูปแบบของการพัฒนาศักยภาพของผู้ปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมพัฒนาการตลอดจนการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้จัดทำแผนงานพัฒนาพ่อแม่ ผู้ปกครอง สมาชิกในครอบครัวและผู้ที่เตรียมตัวเป็นพ่อแม่ ดังนี้
- สถานศึกษา รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงการพัฒนาเด็กปฐมวัย
- จัดบริการเสริมความรู้ ความเข้าใจ ฝึกทักษะให้เข้าใจในวิธีเลี้ยงดูเด็ก
- ส่งเสริมให้องค์กรของรัฐ เอกชน ท้องถิ่นจัดฝึกอบรม
- สนับสนุนโครงการต่างๆที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
- จัดให้มีวิธีการประเมินผลการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
- เมื่อปี ค.ศ. 1930 สหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อครอบครัว
- จึงได้มีการประชุมเรื่อง สุขภาพเด็กและแนวทางการแก้ไขปัญหา
- โดยได้เสนอให้มีการจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาของทุกรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว
- ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก
- ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว
- เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการศึกษาเด็กด้วยการสนับสนุนให้ครอบครัวเข้ามามีบทบาทต่อการจัดการศึกษา โดยกำหนดให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 2 เรื่องคือ
1. ความพร้อมที่จะเรียน พ่อแม่จะต้องเตรียมความพร้อมให้ก่อนลูกจะเข้าเรียนและอุทิศเวลาแต่ละวันเพื่อช่วยลูกให้ได้เรียน
2. การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้กำหนดให้โรงเรียนทุกแห่งส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนที่จะทำให้ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของเด็กในด้านสังคม อารมณ์ และด้านวิชาการ
1.โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
- มีการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ ขึ้นในทุกรัฐ
- ดำเนินงานนั้นให้ผ่านไปยังองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO)
- โดยให้การอบรมความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง ภายใต้คำนิยาม
- “การศึกษาของพ่อแม่ (Parent Education)
- “โครงการพ่อแม่ในฐานะครู” (Parents as Teachers Program) และ
- “โครงการสอนเด็กเล็กในบ้าน” (Home Instruction for Preschool Youngsters Program) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก
- ให้สนับสนุนในการช่วยเหลือในการเรียนของเด็กจนประสบความสำเร็จ
- สามารถที่จะติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างครู ผู้บริหารและนักเรียน
- ให้มีส่วนร่วมในการออกแบบรับความช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้มาโรงเรียน เช่น การให้บริการเอกสารในเรื่องต่างๆ
2.โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
- เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ 3-5 ปี
- พ่อแม่มีรายได้น้อย
- และบริการด้านสังคม สำหรับเด็กเน้นเรื่องการศึกษา พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สุขภาพกาย จิตใจและโภชนาการ
- พื้นฐานสำคัญของโครงการนี้คือ การมีส่วนร่วมของพ่อแม่และชุมชน
- โครงการเฮมสตาร์ท มีฐานะเสมือนห้องปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น
- เชื่อมโยงเด็กและครอบครัวต่อการบริการชุมชนที่มีความต้อการจำเป็น
- ประกันโครงการที่จัดการดีว่าพ่อแม่เด็กมีส่วนร่วมในการตกลงใจ
3.โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)
- เป็นการนำพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กเล็กซึ่งอยู่ภายใต้โครงการใหญ่
- คือ เฮดสตาร์ท เป้าหมายคือ
- เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก
- และชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก
- เห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้อยโอกาส
- โดยช่วยเหลือสนับสนุนให้ครอบครัวมีความสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ
4.โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
- ก่อตั้งโดยนายจิม ฮั้น ผู้ว่าการมลรัฐแคโรไลนาเหนือ ในปี พ.ศ. 2536
- ได้จัดให้มีคณะทำงานศึกษาสาระปัญหาเด็กเล็ก
- ปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้ดำเนินโครงการ
- โครงการนี้สร้างสรรค์ขึ้นจากความคิดริเริ่มด้านเด็กเล็กจากแรงผลักดันของท้องถิ่น ชุมชนรวมตัวกันเข้าเรียกร้องความต้องการให้เด็กเล็ก
- โดยมีเป้าหมายที่เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ให้มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ
5.โครงการ Brooklyne Early Childhood
- เป็นโครงการที่ฝึกให้ผู้ปกครองเป็นครูในการสอนลูก
- ดำเนินการโดย Brooklyne Public School
- ได้รับความร่วมมือจากศูนย์การแพทย์ในโรงพยาบาลเด็ก
- จัดการศึกษาให้แก่ผู้ปกครอง
- มีการตรวจสุขภาพเด็กเบื้องต้นเพื่อให้สามารถรักษาดูแลความเจ็บป่วย ความพิการหรือข้อบกพร่องต่างๆ ในระยะต้นได้
- ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธี
- และวิธีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป
- ด้วยการฝึกให้เด็กเล่นรวมกลุ่ม
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
- ประเทศนิวซีแลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาปฐมวัย
- โดยการศึกษาในระดับนี้จะให้โอกาสผู้ปกครองใช้สิทธิในฐานะหุ้นส่วนในการจัดการศึกษาปฐมวัย
- และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลาน
- ครูอนุบาลที่มีความสามารถจะให้โอกาสผู้ปกครองและครอบครัวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก การเรียนการสอน และส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปกครองอยู่ด้วยในช่วงที่มีการเรียน
1.โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
- พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน
- มีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรอง
- สามารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็กได้หนึ่งในสามของเด็กปฐมวัยทั้งหมดของประเทศ
- ปรัชญาในการทำงานคือ “พ่อแม่คือครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก”
2.โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
- โรงเรียนจัดนิทรรศการสำหรับผู้ปกครอง
- เพื่ออธิบายถึงปรัชญาที่และนโยบายเรื่องประโยชน์ของการศึกษาที่มีต่อผู้ปกครอง
- มีการสำรวจความรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยและจัดเตรียมแฟ้มข้อมูลข่าวสาร
- เพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ผู้ปกครองตลอดจนการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในการวางแผน จัดทำหลักสูตร การพัฒนาทักษะ การประเมินผลการเรียน และการประเมินผลการจัดการศึกษากับผู้ปกครอง
3.โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)
- ให้ข้อมูลแก่พ่อแม่ให้มีความรู้ความเข้าเข้าใจพัฒนาการของเด็กก่อนเกิดและตั้งแต่เกิดถึง 3 ขวบ
- รัฐบาลส่งเสริมให้พ่อแม่ทุกคนเข้าร่วมโครงการได้ตามความสมัครใจและไม่เสียค่าใช้จ่าย
- โครงการนี้จะคัดเลือกพ่อแม่ที่ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจอย่างดีมาเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เรียกว่า “พ่อแม่นักการศึกษา”
- พ่อแม่จะได้รับข้อมูลเช่น การสร้างประสบการณ์การศึกษาที่ตื่นเต้นแก่ลูกโดยไม่ต้องใช้ของเล่นราคาแพง
- การส่งเสริมให้ลูกรักการอ่านหนังสือ
- การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและสนุก
- การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และการส่งเสริมให้ลูกพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพมากที่สุด
โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
- มีรูปแบบในการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในลักษณะที่เรียกว่า (Early Childhood Center) หรือ ศูนย์สุขภาพเด็ก (Baby Health Center)
- เป็นศูนย์ที่ให้บริการคำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5 ปี
- เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะเป็นพยาบาลทั่วไป
- จะทำการนัดหมายให้พ่อแม่พาลูกไปชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ดูพัฒนาการของลูก ไปเยี่ยมบ้าน โดยเฉพาะทารกที่มีปัญหา เช่น ตัวเหลืองรวมทั้งไปสอนการดูแลการอาบน้ำเด็กทารกจนกระทั่งแม่แข็งแรงดี
- มีการจดบันทึกข้อมูลเด็กลงในสมุดสีฟ้า (blue book) ซึ่งเด็กทุกคนต้องมีสมุดเล่มนี้ สำคัญเหมือนบัตรประชาชน
- ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกายและใจ โดยเฉพาะคุณแม่ที่เพิ่งมีลูกคนแรก
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
- โครงการ บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ
- นับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก
- โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต
- ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท”
ภายในถุงประกอบด้วย
- หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว 2 เล่ม
- หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ
- ของชำร่วยสำหรับเด็ก เช่น ผ้ารองจานฯลฯ
- แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
- บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
- รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
- รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)
- เมื่อปี พ.ศ. 2543 ญี่ปุ่นประกาศให้เป็น “ปีแห่งการอ่านของเด็ก”
- มีการนำโครงการบุ๊คสตาร์ทของประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น
- โดยมีศูนย์สนับสนุนบุ๊คสตาร์ทเป็นเจ้าของโครงการ ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่า ภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก เด็กเล็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่นและเสียงพูดคุยอย่างอ่อนโยน
- โครงการบุ๊คสตาร์ทสนับสนุนสัมผัสอันอบอุ่นโดยมี “หนังสือภาพ” เป็นสื่อกลาง
- โดยทดลองที่เขตสุงินามิ ในกรุงโตเกียวเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544
- ได้รับความร่วมมือจากศูนย์อนามัย
- ห้องสมุดและหน่วยงานสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็ก
- สามองค์กรร่วมกันแจกถุงบุ๊คสตาร์ทแก่แม่ที่พาลูกมาตรวจสุขภาพในช่วงอายุ 4 เดือน
- โดยมีเป้าหมาย 200 ครอบครัว และก็ได้มีการแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น
คำถามท้ายบท
1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ เพื่อให้ผูู้ปกครองเตรียมความพร้อมให้แก่เด็ก เรื่องพัฒนาการ การดูแล
2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ
4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น